|
พระราชวัง ซิตี้ พาเลซ แห่งเมืองจัยปูร์ |
|
|
|
|
หน้าทางเข้าลานนกยูง |
ศาลาว่าราชการ |
ลานใกล้ศาลาว่าราชการ |
ศาลาว่าราชการ |
|
|
|
|
ลานใกล้ๆศาลาว่าราชการ |
วังของครอบครัวมหาราชาปัจจุบัน |
ทางเข้าซิตี้พาเลซ |
พิพิธภัณฑ์เก็บรถ |
|
|
|
|
ทางเข้าซิตี้พาเลซ |
พิพิธภัณฑ์เก็บรถ |
ข้อมูล เหยือกน้ำ |
เหยือกน้ำขนาดใหญ่ |
|
|
|
|
วังของครอบครัวมหาราชาปัจจุบัน |
ประตูนกยูง |
ซิตี้พาเลซ |
ซิตี้พาเลซ |
คลิกที่ภาพเพื่อดูรูปขนาดใหญ่
ซิตี้ พาเลซ (City Palace) แห่งเมืองจัยปูร์
ี้เราเดินทางมาเที่ยวชมซิตี้ พาเลซในช่วงบ่ายของวัน โดยก่อนเข้าชมซิตี้พาเลซพวกเราเข้าไปชมสถานที่ตั้งของอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ที่จันทรา มานทาร์ ที่อยู่ใกล้ๆกับทางเข้าซิตี้พาเลซ สำหรับการเข้าชมซิตี้พาเลซมีเวลาเิปิดปิดเป็นเวลา และต้องเสียค่าธรรมเนียมเข้าชมและหากมีกล้องอัดวิดีโอก็จำเป็นต้องเสียเงินค่ากล้องวีดีโอด้วยนะคะ เราใช้เวลาในการเข้าชมประมาณ 1-2 ชั่วโมง พระราชวังซิตี้พาเลซ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1797 สมัยมหาราชาไสวจัย ซิงห์ ที่ 2 จากนั้นก็ได้รับการดูแลต่อเติมโดยมหาราชาของจัยปูร์รุ่นต่อๆ โดยสถาปัตยกรรมได้รับการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบราชปุตกับโมกุล โดยซิตี้พาเลซได้เปิดให้เข้าชมในนามของพิพิธภัณฑ์ไสวมานซิงห์
ภายในเขตพระราชฐาน เราจะเห็นศาลาว่าราชการ ที่มหาราชาใช้ปรึกษางานกับราชบริพาร ตั้งอยู่กลางผังพระราชวัง สิ่งที่สะดุดตาคือเหยือกเงิน(Silver Urms) แท้ๆ 2 ใบของมหาราชามัดโฮ ซิงห์ ที่ 2 (Maharaja Madho Singh II) ซึ่งเหยือกสีเงินนี้จะวางอยู่คนละมุมของประตูทางเข้า เหยือกนี้มีความสูงถึง 1.6 เมตร บรรจุน้ำได้ 900 ลิตร ในอดีตเคยถูกใช้บรรจุน้ำจากแม่น้ำคงคา เืพื่อนำไปใช้ในพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 7 มาก่อน จากศาลาว่าราชการเราเดินมาชมความงามของ ปทัมนิวาสชอว์ก (Pitam Niwas Chawk) กันต่อค่ะ หรือ เรียกกันว่า ลานนกยูง (Peacock Courtyard) นกยูงถือว่าเป็นสัตว์ประจำรัฐราชาสถาน ลานนกยูงซึ่งถือว่าเป็นไฮไลต์ของพระราชวังแห่งนี้ด้วยคะ ในอดีตใช้เป็นลานสำหรับแสดงกลางแจ้งของนางรำ เพื่อความบันเทิงและสำราญของมหาราชาในสมัยนั้น ที่ลานนี้ยังมีประตูที่สวยๆ 4 บานประตูด้วยกันคะ โดยแต่ละประตูจะมีภาพวดแทนสัญลักษณ์ของทั้ง 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูฝน-ประตูนกยูง ฤดูร้อน-ประตูดอกบัว ฤดูหนาว-ประตูลายดอกไม้ และฤดูใบไม้ผลิ-ประตูสีเขียวตอง โดยแต่ละประตูจะออกแบบมาไม่เหมือนกันมีเทพฮินดูองค์เล็กๆประดับเหนือประตูแต่ละบาน จากลานนกยูงเราสามารถเห็นส่วนของวังส่วนตัวของครอบครัวมหาราชาคนปัจจุบันแห่งเมืองจัยปูร์
จันทาร์ มานทาร์ (Jantar Mantar)
เราเดินทางมาชมจันทาร์ มานทาร์ในช่วงบ่าย จันทาร์ มานทาร์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวด้านดาราศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองจัยปูร์ สร้างโดย มหาราชาไสวจัย ซิงห์ที่ 2 ในปี ค.ศ. 1727 เนื่องจากทรงสนพระทัยและมีพระปรีชาในเรื่องดาราศาสตร์ จึงได้สร้างหอดูดาวแห่งนี้มาพร้อมๆ กับการสร้างพระราชวังซิตี้พาเลซ ภายในจันทาร์ มานทาร์ มีหอนาฬิกาแดดขนาดใหญ่ซึ่งวัดเวลาได้อย่างแม่นยำ ในสมัยโบราณใช้เป็นเครื่องมือสำคัญใช้คำนวณฤกษ์เวลาในการออกรบ นอกจากนี้แล้วมหาราชาไสวจัย ซิงห์ที่ 2 ยังได้สร้างหอดูดาวในลักษณะนี้อีก 4 แห่งด้วยกันคะ ซึ่งหนึ่งในสี่อยู่ใจกลางเมืองเดลี และ อยู่ที่เมือง Ujjain , Varanasi และ Matura นาฬิกาแดดที่ใหญ่ที่สุดในโลกจะอยู่ที่จัยปูร์มีความสูงถึง 28 เมตร ที่มีความเที่ยงตรง บอกเวลาที่เมืองจัยปูร์ได้โดยเฉพาะซึ่งเวลาจะไม่ตรงกับเวลามาตรฐานของอินเดียคะ ที่จันทาร์ มานทาร์ได้รับประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกในปี 2010 ด้วยนะคะ การเดินทางมาชมจันทาร์ มานทาร์ ควรมาในช่วงเวลาที่มีแดดจะได้เห็นเงาของแสงที่นาฬิกาแดดบอกเวลาได้คะ ภายในมีไกด์ท้องถิ่นสามารถจ้างมาบรรยายให้ความรู้กับเราได้นะคะ เราใช้เวลาในการชมราว 30-45 นาที ไม่นานคะเนื่องจากแดดในวันนั้นร้อนมาก (ควรพกร่มมาด้วยนะคะจะทำให้เราชมได้นานขึ้น)
|
คลิปวีดีโอ จันทาร์ มานทาร์ |
|
จันทาร์ มานทาร์ ที่เมืองจัยปูร์ |
|
นาฬิกาแดด ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แห่ง ชัยปุระ |
|
นาฬิกาแดด ที่ จันทาร์ มานทาร์ เมืองจัยปูร์ |
พระราชวังน้ำ (Water Palace) หลังจากที่เราได้ไปชมความงามของแอมเบอร์ฟอร์ท ขากลับเราได้มีโอกาสแวะถ่ายรูปพระราชวังกลางทะเลสาบคะ
|
พระราชวังกลางทะเลสาบ เมืองจัยปูร์ นครแห่งชัยชนะ |
รูปโดย ทริปดีดี ดอทคอม
|