
พระมหามัยมุนี |

พระมหามัยมุนี |

วัดมหามุนี |

วัดมหามุนี |
ขอขอบคุณรูป 3 รูปจากขวามาซ้ายจากพี่ตุ๊ก ปราณี ด้วยค่ะ
วัดมหามุนี (Maha Muni Temple)
เป็นวัดที่อยู่ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ ไปทางใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร รู้จักกันในอีกชื่อว่าวัดยะไข่ (Rakhine Pagoda) สร้างขึ้นโดยกษัตริย์โบดอพญา (King Bodawpaya) ภายในบรรจุพระพุทธรูปที่ยิ่งใหญ่และมีความสำคัญมากที่วสุดองค์หนึ่งของพม่าคือ พระมหามุนี (Maha Muni Buddha) ทำให้วัดแห่งนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งในเมืองมัณฑะเลย์
พระมหามุนีเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จัดว่ามีความงดงามมากที่สุดในประเทศพม่าสร้างขึ้นโดยกษัตริย์ยะไข่ที่ชื่อพระเจ้าจันทรสุริยะ (King Chandra Surya) เมื่อประมาณ 2,000 ปีที่แล้ว เมื่อพม่าสามารถยึดอาณาจักรอารกันได้พระพุทธรูปมหามุนีจึงถูกนำมาประดิษฐานที่เมืองมัณฑะเลย์โดยพระเจ้าปะดุง
พระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัยองค์นี้หล่อด้วยสำริด ทั้งพระเศียรและพระอุระประดับด้วยอัญมณีมากมาย ด้านองค์พระถูกปิดทองซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนทำให้พระพุทธรูปมีลักษณะขรุขระไปทั้งองค์ เหลือแต่พระพักตร์ที่ถูกขัดจนใสสะอาด เนื่องจากความศรัทธาและเชื่อว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีลมหายใจ จึงต้องมีการล้างพระพักตร์ในตอนเช้ามืดของทุกวัน
พระมหามัยมุนี (Mahamuni Buddha) พระพุทธรูปคู่บ้านคู่บ้านของพม่า เปรียบได้กับพระแก้วมรกตซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่ บ้านคู่เมืองของไทย และเป็นหนึ่งในห้าศาสนวัตถุที่ศักดิ์สิทธิ์ของพม่า
คำว่า มหามัยมุนี แปลว่า "ผู้รู้อันประเสริฐ" (The Great Sage) ชาวพม่าจะเรียกว่า มหาเมียะมุนี เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์ อดีตราชธานีของพม่าในยุคราชวงศ์คองบอง เดิมทีเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของยะไข่ มีตำนานเล่าว่า สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยกษัตริย์แห่งเมืองยะไข่ องค์พระทำจากทองสัมฤทธิ์ สูง 12 ฟุต 7 นิ้ว หนัก 6.5 ตัน ก่อนสร้าง กษัตริย์ผู้สร้างทรงพระสุบินว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทานพร ให้พระพุทธปฏิมาองค์นี้ เป็นตัวแทนของพระองค์ เพื่อเป็นเครื่องสืบพระศาสนาไปในภายหน้า โดยในอดีต แม้เมืองยะไข่จะถูกโจมตีโดยกษัตริย์เมืองอื่นที่ทรงแสนยานุภาพอย่างไร ก็ไม่อาจที่จะเคลื่อนย้ายองค์พระมหามัยมุนีนี้ออกจากเมืองได้ ต้องมีเหตุให้ขัดข้องทุกครั้งไป
จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระเจ้าปดุง แห่งราชวงศ์คองบองสามารถตียะไข่ได้ และได้อัญเชิญพระมหามัยมุนีออกจากยะไข่ได้ ในปี พ.ศ. 2327 (ภายหลังการสถาปนากรุงเทพมหานครและการปราบดาภิเษกขึ้นเถลิง ถวัลย์ราชสมบัติของสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 2 ปี) โดยล่องมาตามแม่น้ำอิระวดีมายังเมืองมัณฑเลย์ได้สำเร็จ พระมหามัยมุนีจึงได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองมัณฑเลย์เป็นการถาวรนับแต่นั้นเป็น ต้นมา
และด้วยความเชื่อว่า พระพุทธมหามัยมุนี นี้เป็นพระพุทธรูปที่มีชีวิต เพราะด้วยเหตุที่ได้รับประทานพร (บางตำนานก็เล่าว่าได้รับประทานลมหายใจจากพระพุทธเจ้า) จึงมีประเพณีล้างพระพักตร์ถวาย โดยทุกเช้า เวลาประมาณ 04.00 น. (ตี 4) พระมหาเถระและสาธุชนทั่วไปที่ศรัทธาจะมาทำพิธีล้างพระพักตร์ด้วยน้ำอบน้ำหอม ผสมทานาคาอย่างดีพร้อมกับใช้ แปรงทองแปรงที่พระโอษฐ์เสมือนหนึ่งแปรงพระทนต์ถวายพระพุทธเจ้า ก่อนใช้ผ้าจากศรัทธาสาธุชนถวายมาเช็ดจนแห้งสนิท พร้อมใช้พัดทองโบกถวายเป็นอันดีเสมือนหนึ่งได้อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าที่ยังทรงพระชนมชีพอยู่จริง ๆ
อนึ่ง องค์พระมหามัยมุนีมีการปิดทองซ้ำแล้วซ้ำอีกจนเป็นรอยย่นตะปุ่มตะป่ำไปทั้ง พระองค์ ซึ่งหากเอานิ้วกดลงไป ก็จะรู้สึกได้ถึงความอ่อนนิ่มของทองคำเปลวที่ปิดทับซ้อน กันนับเป็นพัน ๆ หมื่น ๆ ชั้น ตลอดระยะเวลาเนิ่นนานกว่าศตวรรษ ทำให้พระมหามัยมุนีมีอีกพระนามหนึ่งว่า พระเนื้อนิ่ม แต่น่าแปลกที่ว่า แม้จะมีการปิดทองซ้ำแล้วซ้ำอีกจนองค์พระใหญ่ขึ้นเพียงใดก็ตาม แต่พระพักตร์ขององค์พระมหามัยมุนีก็ยังแลดูใหญ่ตามองค์พระอย่างน่าอัศจรรย์ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีการปิดทองที่องค์พระเลยแม้แต่น้อย
สำหรับในประเทศไทย ที่วัดหัวเวียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ก็ได้มีองค์พระจำลองของพระมหามัยมุนีนี้เป็นพระประธานของวัดด้วย
|
|
|
|
เจดีย์มินกุน |
เจดีย์มินกุน |
วิวจากเจดีย์มินกุน |
ขาสิงห์ที่ยังสร้างไม่เสร็จ |
|
|
|
|
วิวจากเจดีย์มินกุน |
วิวจากเจดีย์มินกุน |
วิวจากเจดีย์มินกุน |
วิวจากเจดีย์มินกุน |
|
|
|
|
ใกล้ๆบริเวณเจดีย์มินกุน |
ขาสิงห์ที่ยังไม่เสร็จที่เจดีย์มินกุน |
ใกล้ๆเจดีย์มินกุน |
เจดีย์มินกุน |
เจดีย์มินกุน (Mingun Pagoda)
เจดีย์มินกุนนี้เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นบริเวณชายฝั่งของแม่น้ำอิระวดี เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าปาโตดอจี (Pahtodawgyi) ซึ่งมีความหมายว่าเจดีย์ที่สร้างไม่เสร็จ แม้ว่ายังสร้างไม่แล้วเสร็จแต่เจดีย์ แห่งนี้ก็มีขนาดใหญ่โตมาก จนกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างด้วยอิฐที่ใหญ่ที่สุดในโลกไปโดยปริยาย นักท่องเที่ยวสามารถชมความยิ่งใหญ่ของเจดีย์แห่งนี้ได้เมื่อเดินทางท่องเที่ยวโดยเรือบนแม่น้ำอิระวดี
รูปภาพโดยทริปดีดี ดอทคอม
แหล่งข้อมูล - หนังสือคู่มือนักเดินทางฉบับพกพา เมียนมาร์ หนังสือในเครือ เที่ยวรอบโลก และ วิกิพีเดีย |