|
|
|
|
เจดีย์ชเวดากอง |
เจดีย์ชเวดากอง |
เจดีย์ชเวดากอง |
เจดีย์ชเวดากอง |
|
|
|
|
วัดพระหยกขาว |
ทางขึ้นวัดพระหยกขาว |
พระหยกขาว |
พระเขี้ยวแก้ว |
|
|
|
|
พระนอนตาหวาน |
พระนอนตาหวาน |
วัดพระเขี้ยวแก้ว |
เจดีย์สุเลพญา |
ย่างกุ้ง (Yangon)
ย่างกุ้งเป็นเมืองใหญ่ และมีความสำคัญมากที่สุดในประเทศพม่า เนื่องจากในอดีตย่างกุ้งเคยเป็นเมืองหลวง ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการ และแหล่งธุรกิจที่สำคัญของประเทศพม่า เมืองย่างกุ้งนี้ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำอิระวดี ชื่อเดิมของเมืองนี้คือ ดากอง (Dagon) เป็นเมืองเก่าแก่ที่ตั้งขึ้นมานานกว่า 2,500 ปี โดยเริ่มแรกนั้นเป็นเมืองท่าของอาณาจักรมอญต่อมากษัตริย์อลองพญาได้เข้ามายึดครอง แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นย่างกุ้งในปี พ.ศ. 2298 ซึ่งมีความหมายว่า ศัตรูพ่ายแพ้
กรุงย่างกุ้งนั้น ไม่เหมือนเมืองใหญ่ๆของประเทศอื่นๆ ในเอเชียทั่วๆไป ที่มีแต่ความวุ่นวายของปัญหาการจราจร ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการวางผังเมืองที่ดีของอังกฤษชาติอาณานิคม ที่ได้เคยปกครองประเทศพม่า แต่อีกสาเหตุหนึ่งคือ ประเทศพม่านั้นยังเป็นประเทศที่ก้าวเข้าสู่การพัฒนาแบบทุนนิยม รถยนต์จึงมีไม่มากนัก สภาพบ้านเมืองโดยทั่วไปมีรูปแบบของสไตล์โคโลเนียลเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่น อีกทั้งยังมีการผสมผสานกับรูปแบบของสภาพบ้านเมืองเก่าแก่ไว้อย่างลงตัวอีกด้วย
ย่างกุ้ง (ภาษาพม่า: อ่านออกเสียงว่า ดะโกง แปลว่า ปราบ ศัตรูราบคาบ, ภาษาอังกฤษเรียกว่า Rangoon) เป็นอดีตเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดใน ประเทศเมียนมาร์ (หรือพม่า) ตั้งอยู่บนปากแม่น้ำย่างกุ้ง ห่างจากอ่าวเมาะตะมะ (Gulf of Martaban) ประมาณ 30 กม. ย่างกุ้งเดิมเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงเล็ก ๆ เท่านั้น ได้รับการบูรณะให้เป็นเมืองสำคัญและสถาปนาชื่อโดยพระเจ้าอลองพญาแห่งราชวงศ์อลองพญา ปัจจุบันมีประชากร 4,504,000 (พ.ศ. 2543), และตั้งอยู่ที่ 16?48' เหนือ, 96?9' ตะวันออก (16.8, 96.15) เมื่อเทียบกับเมืองใหญ่เมืองอื่น ๆ ในเอเซียอาคเนย์แล้ว ย่างกุ้งค่อนข้างจะด้อยพัฒนา จึงมีพื้นที่สีเขียวมากกว่า มีการก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีการลงทุนจากต่างชาติเข้ามา (จากประเทศสิงคโปร์ และประเทศจีน) ตึกที่อยู่อาศัยหลายชั้น (ไต tai) หลายแห่งได้ถูกสร้างใหม่หรือปรับปรุงใหม่ อย่างไรก็ดี การปรับเมืองเข้าสู่ปัจจุบันจะเห็นชัดเจนเฉพาะในบริเวณกลางเมองและชเวดากอง (Shwedagon) แถบชานเมืองตอนใต้ เช่น Thaketa Township ยังคงยากจนต่อไป ย่างกุ้งได้พยายามที่จะเก็บรักษาสถาปัตยกรรมยุคอาณานิคมที่ยังมีอยู่ ย่างกุ้งได้ถูกออกแบบใหม่เป็นตารางหมากรุก เมื่ออังกฤษได้ผนวกพม่าเข้าสู่อาณาจักรของตนเองในคริสต์ศตวรรษที่ 19
|
|
|
|
โบสถ์คริสในย่างกุ้ง |
อาคารแบบอังกฤษ |
อาคารแบบอังกฤษ |
ส่งโพสการ์ดก็ถึงนะคะ |
|
|
|
|
รถสมัยสงครามโลก |
รถยนต์ที่ใช้ในทัวร์ |
โมฮิงก่า ขนมจีนแบบพม่า |
อาหารระดับภัตตาคาร |
|
|
|
|
อาหารสำหรับทัวร์ |
ห้องพัก |
โชว์ที่ภัตตคารการะเวก |
โชว์หุ่นกระบอก |
รูปภาพโดย http:// www.TripDeeDee.com
แหล่งข้อมูล : หนังสือคู่มือนักเดินทางฉบับพกพา เมียนมาร์ หนังสือในเครือ เที่ยวรอบโลก และ วิกิพิเดีย |