รู้จักมาเลเซีย
ประเทศมาเลเซียมีพื้นที่ 2 ส่วน คือ 11 รัฐบนแหลมมลายู และอีก 2 รัฐบนเกาะบอร์เนียวคือรัฐซาราวักกับรัฐซาบาห์ ซึ่งรวมเข้าเป็นประเทศมาเลเซียภายหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ ดังนั้น การกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของมาเลเซียในที่นี้จึงหมายเลขเฉพาะพื้นที่บนแหลมมลายูเท่านั้น
อดีตเมื่อมีการเดินเรือพาณิชย์จากยุโรปและเปอร์เซียมายังตะวันออกไกลซึ่งจำเป็นต้องผ่านช่องแคบระหว่างแหลมมลายูกับเกาะสุมาตราเพื่อย่นระยะทางการเดินเรือ ทำให้ดินแดนทางทิศตะวันตกของแหลมมลายูได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นเมืองท่า นามว่า มะละกา จนเป็นที่มาของชื่อ ชิ่งแคบมะละกา ซึ่งความเจริญของวัฒนธรรมที่มาพร้อมกับเรือพาณิชย์ทำให้เมืองมะละกาได้รับการพัฒนา จนชาวมาเลย์ถือว่าที่นี่เป็นจุดกำเนิดของประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน
ความเจริญเช่นนี้ทำให้หลายชาติในยุโรปสนใจที่จะยึดครองเมืองนี้ เพื่อครอบครองเส้นทางเดินเรือ จนเป็นเหตุให้มะละกาตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกถึง 3 ชาติ เริ่มจกโปรตุเกส ฮอลันดา จนถึงอังกฤษ ซึ่งอาณานิคมของอังกฤษไม่ใช่เพียงแค่เมืองมะละกา แต่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของแหลมมลายู รวมถึงเมืองปะลิส เกดะห์ (หรือไทรบุรี รวมเกาะหมากหรือเกาะปีนัง) กลันตัน และตรังกานูที่เคยเป็นของไทยด้วย
กระทั่งปี พ.ศ.2491 กองทหารป่าภายใต้การนำของตนกูอับดุล เราะห์มานลุกขึ้นต่อต้านการปกครองของอังกฤษ จนนำมาซึ่งเอกราชเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2500 ซึ่งชาวมาเลย์กำหนดให้เป็นวันชาติ แต่การเกิดประเทศมาเลเซียนั้นถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.2506 เมื่อมีการผนวกรัฐซาราวัก ซาบาห์ และเกาะสิงคโปร์ (หลังจากนั้น 2 ปี สิงคโปร์ได้แยกตัวออกไปตั้งเป็นอีกหนึ่งประเทศ) เข้าเป็นประเทศเดียวกัน โดยมีชื่อทางการว่า Federation of Malaysia หรือสหพันธรัฐมาเลซีย
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
ภูมิประเทศและการปกครอง
ภูมิประเทศแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แหลมมลายูกับพื้นที่บริเวณส่วนเหนือของเกาะบอร์เนียว รวมพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้นเขตร้อนที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งมีพื้นที่ราบไม่มากนัก
การปกครองแบ่งเป็น 13 รัฐ อยู่บนแหลมมลายู 11 รัฐ ประกอบด้วยรัฐปะลิส (Perlis) รัฐเกดะห์ (Kedah) รัฐปีนัง (Penang) รัฐเประ (Perak) รัฐกลันตัน (Kelantan) รัฐตรังกานู (Trengganu) รัฐสลังงอร์ (Selangor) รัฐเนกรีเซมบิลัน (Negeri Semblian) รัฐมะละกา (Melaka) รับปะหัง (Pahang) และรัฐยะโฮร์ (Johor) ส่วนอีก 2 รัฐคือรัฐซาราวัก (Sarawak) กับรัฐซาบาห์ (Sabah) อยู่บนเกาะบอร์เนียว มีกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) เป็นเมืองหลวง และปุตราจายา (Putrajaya) เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองแห่งใหม่ โดยทั้งสองเมืองตั้งอยู่ในพื้นที่รัฐสลังงอร์
ประเทศมาเลเซียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมี ยัง ดี เปอร์ตวน อากง (Yang di Pertaun Agong) หรือพระราชาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ มาจากการเวียนกันของสุลต่านจากรัฐต่างๆทุกๆ 5 ปี และมีนายกรัฐมนตรีซึ่งมากจากการเลือกตั้งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้ารัฐบาล
ประชากร ศาสนา และภาษา
ประเทศมาเลเซียมีประชากรประมาณ 28 ล้านคน เป็นขาวมาเลย์ 50-51 เปอร์เซ็นต์ ชาวจีน 24 เปอร์เซ็นต์ ชาวอินเดีย 8 เปอร์เซ็นต์ โดยประมาณ นอกนั้นเป็นชนพื้นเมือง ประชากรส่วนใหญ่ 55 เปอร์เซ็นต์นับถือ 25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนที่นับถือพุทธศาสนานิกายมหายานนอกนั้นนับถือศาสนาฮินดู คริสต์ และอื่นๆ
ชาวมาเลย์เคยมีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตัวเอง แต่เมื่อตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ จึงเป็นเหตุให้ภาษาเขียนนั้นเปลี่ยนมาใช้อักษรโรมัน หรืออักษรภาษาอังกฤษเป็นตัวสะกด โดยมีหลายคำที่ใช้ทับศัพท์ แต่สะกดตามแบบมาเลย์ ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนบ้าง
ส่วนภาษาพูด ชาวมาเลย์ยังคงใช้ภาษามาเลย์ในการสื่อสาร แต่ประชากรส่วนใหญ่สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้ดี และในย่านไชน่าทาวน์หรือเขตธุรกิจจะมีชาวจีนจำนวนมากที่สื่อสารกันด้วยภาษาจีนกลาง
สภาพภูมิอากาศ
เนื่องจากตั้งอยู่เกือบถึงเส้นศูนย์สูตร สภาพภูมิอากาศของมาเลเซียจึงเป็นแบบเขตร้อน อีกทั้งอยู่บนคาบสมุทรที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุม เป็นเหตุให้ฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงเมษายนถึงพฤษภาคมและตุลาคมถึงพฤศจิกายน ส่วนฝั่งตะวันออกของประเทศซึ่งได้รับลมมรสุมมากกว่า ฝนจะตกนานจนถึงเดือนกุมภาพันธ์
อัตราแลกเปลี่ยน
- 1 ดอลลารืสหรัฐ ประมาณ 33 บาท
- 1 RM (มาเลเซียริงกิต) ประมาณ 10 บาท
กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
คำว่า กัวลาลัมเปอร์ หมายถึง แม่น้ำที่เป็นโคลน เป็นจุดบรรจบของแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำคลาง (Sungai Klang) กับแม่น้ำกอมบัก (Sungai Gombak) บริเวณจัตุรัสเมอร์เดกากัวลาลัมเปอร์ได้รับการพัฒนาขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ.2403 โดยกัปตันเรือชาวจีนผู้พบว่าบริเวณนี้มีสายแร่ดีบุกปริมาณมาก อุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่เกิดขึ้นทำให้กัวลาลัมเปอร์เจริญขึ้นเป็นลำดับ จนเมื่อประเทศมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษ กัวลาลัมเปอร์จึงได้รับการยกฐานะให้เป็นเมืองหลวงแห่งแรกของประเทศเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2517 แม้ปัจจุบันศูนย์กลางการปกครองจะย้ายไปที่ปุตราจายา แต่กัวลาลัมเปอร์ยังคงเป็นทั้งศูนย์กลางธุรกิจและการคมนาคมของประเทศมาเลเซีย
- ช็อปปิ้ง/ของที่ระลึก
- ลังกาวี ของที่ระลึกคือรูปปั้นนกอินทรี สัญลักษณ์แห่งลังกาวี มีจำหน่ายหลากหลายแบบบริเวณจัตุรัสนกอินทรีและตามชายหาดต่างๆ
- มะละกา ของที่ระลึกคือ รองเท้า หรือ เกี๊ยะไม้คู่จิ๋ว ที่ตกแต่งลวดลายดงาม แม่เหล็กติดตู้เย็น ซึ่งส่วนใหญ่ทำเป็นรูปโบสถ์คริสต์มะละกา มีจำหน่ายที่ร้านค้าบนถนนยองเกอร์และร้านค้าข้างโบสถ์ นอกจากนี้ยังมี้สื้อยืดพิมพ์ลายสีสด บอกเล่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของมะละกาด้วย
- กัวลาลัมเปอร์
ของที่ระลึกส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับตึกแฝดเปโตรนาส ไม่ว่าจะเป็นโมเดลจำลอง ที่ใส่นามบัตร แม่เหล็กติดตู้เย็น หรือเสื้อยืดพิมพ์ลายเปโตรนาส นอกจากนี้ยังมีกริชจำลองเล่มงามซึ่งเป็นอาวุธโบราณของชาวมาเลย์ มีจำหน่ายที่ไชน่าทาวน์และย่านบูกิตบินตัง (Bukit Bintang) โดยย่านไชน่าทาวน์จะมีราคาถูกกว่าเล็กน้อย (หากซื้อกริชจำลองและนำกลับบ้านด้วยการเดินทางโดยเครื่องบิน นักท่องเที่ยวจำเป็นต้องเก็บไว้ในกระเป๋าใบใหย่ที่ไว้ใต้ท้องเครื่องบิน เพราะถือเป็นอาวุธ หากนำติดตัวขึ้นเครื่องอาจถูกเจ้าหน้าที่ยึดไว้ได้)
- ช็อกโกแลต
ในมาเลเซียนั้นมีช็อกโกแลตจำหน่ายเป็นจำนวนมาก โดยมีหลากหลายยี่ห้ออีกทั้งราคาถูก เพราะส่วนใหญ่ผลิตในประเทศมาเลเซียเอง หรือไม่ก็ในอินโดนีเซียประเทศใกล้เคียง การซื้อช็อกโกแลตจากมาเลเซียเป็นของฝากจึงเป็นความคิดที่ไม่เลว ดงช็อกโกแลตนั้นอยู่ที่เมืองกัวห์บนเกาะลังกาวี แต่หากคุณไม่มีโอกาสไปเยือนเกาะแห่งนี้ คุณสามารถเลือกซื้อช็อกโกแลตราคาประหยัดได้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านสะดวกซื้อในกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งราคาไม่ต่างกันมากนัก
- งานหัตถกรรม
คุณสามารถเลือกซื้อสินค้าหัตถกรรมองมาเลย์ เช่น ผ้าบาติก ผ้าซงเก็ต (ผ้าปักดอก ทอแทรกด้วยด้ายสีทองหรือเงิน) งานไม้ ภาพวาด และเครื่องจักสาน ได้ที่เซ็นทรัลมาร์เก็ต หรือที่คราฟต์คอมเพล็กซ์ในกัวลาลัมเปอร์ เซ็นทรัลมาร์เก็ตในกัวลาตรังกานู หรือจากคราฟต์คอมเพล็กซ์บนเกาะลังกาวี
- ห้างสรรพสินค้า
ในกัวลาลัมเปอร์มีห้างสรรพสินค้าหลายแห่งให้คุณได้เลือกช็อปแบบตากแอร์เย็นๆได้ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ไม่ว่าจะเป็นห้างหรูอย่าง suria KLCC ซึ่งอยู่ชั้นล่างของตึกแฝดเปโตรนาส หรือในย่าน บูกิตบันตัง ซึ่งเป็นดงช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ เช่น Berjaya Times Square, Sg. Wang Plaza, Lot 10, Parkson และ Pavilion
ข้อมูล : Go มาเลเซีย : แพรวสำนักพิมพ์ท่องโลก : วีรศักดิ์ เทียนธนะวัฒน์
|