|
|
|
|
เจดีย์พุทธคยา |
บ้านนางสุชาดา |
แม่น้ำคงคา |
วัดไทยพุทธคยา |
|
ล่องเรือแม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี |
การเดินทางช่วงเช้า
- ออกเดินทางสู่ท่าน้ำเพื่อชมบรรยากาศยามเช้าริมฝั่งแม่น้ำคงคาที่ท่านสาธุและนักบวชต่างมุ่งหน้ามาเพื่อแสวงบุญ นำท่าน ล่องเรือในแม่น้ำคงคา ซึ่งชาวฮินดูเชื่อถือว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ไหลมาจากมวยผมขององค์พระศิวะ (แม่น้ำนี้ไหลมาจากที่ราบสูงทิเบตเทือกเขาหิมาลัย ประเทศจีนและเนปาล) ให้ทุกท่านได้ลอยกระทงแม่น้ำคงคา ชมพิธีบูชาพระอาทิตย์ พิธีกรรมริมฝั่งแม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ (พิธีเผาศพริมแม่น้ำคงคาของศาสนาฮินดู) จากนั้นเดินทางกลับมารับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม หลังอาหารนำท่านเดินทางสู่ เมืองคยา (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 - 6 ชั่วโมง) ที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธสังเวชนียสถานที่มีความสำคัญที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก
- แม่น้ำคงคา เป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวฮินดูให้ความนับถือ ตามตำนานเล่ากันว่า แม่คงคาคือลูกสาวคนโตของท้าวหิมวัต เจ้าป่าหิมพานต์กับนาเมนา หรือเมทกา ซึ่งมาหลากหลายตำนาน สุดแท้แต่ใครจะเล่าอย่างไร บางตำนานบอกว่าเป็นภรรยาของท้าวสาตนุ และมีบุตรชื่อ พีสมะหรือคางเคยะ บ้างก็ว่าเจ้าแม่คงคาเป็นภรรยาของพระกฤษณะ แต่เรื่องที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือเรื่อง ฤาษีภาคีรส บำเพ็ญทุกรกิริยา จนนำเอาน้ำพระคงคาจากสวรรค์มาสู่พื้นโลกได้
ต้นน้ำคงคาเกิดบนเทือกเขาหิมาลัย สูงกว่าระดับน้ำทะเล 13,800 ฟุต เรียกว่า ภาคีรส ในคัมภีร์ปุรณะกล่าวว่า น้ำพระคงคาไหลพุ่งออกจาก โคมุขี หรือปากวัว เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นบันไดขั้นแรกที่พระศิวะเสด็จจากบัลลังก์บนยอดเขาไกรลาส แล้วไหลลงตามช่องเขา ลงสู่ที่ลาดเรียกว่า คงโคตรี มีโบสถ์พราหมณ์ตั้งอยู่หลังหนึ่ง ในทุกๆวันจะมีผู้คนมาอาบน้ำ สวดมนต์ บูชาพระอาทิตย์ กินน้ำในแม่น้ำคงคา ถือเป็นการลอยบาปอย่างพิเศษ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่เผาศพ ตามริมฝั่งแม่น้ำจะเรียงรายด้วยโรงแรมที่พัก ผู้คนที่มาพักคือผู้มารอรับความสุข รอรับความตาย บางทีเรียกว่า Morana Hotel
|
|
|
|
|
แม่น้ำคงคา |
แม่น้ำคงคา |
แม่น้ำคงคา |
|
|
|
|
|
แม่น้ำคงคา |
แม่น้ำคงคา |
แม่น้ำคงคา |
|
|
|
|
|
แม่น้ำคงคา |
แม่น้ำคงคา |
แม่น้ำคงคา |
|
|
|
|
|
แม่น้ำคงคา |
แม่น้ำคงคา |
แม่น้ำคงคา |
|
|
|
|
แม่น้ำคงคา |
แม่น้ำคงคา |
แม่น้ำคงคา |
แม่น้ำคงคา |
|
คลิปวีดีโอ ล่องเรือ แม่น้ำคงคง เมืองพาราณสี |
|
ล่องเรือแม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี |
|
ชาวฮินดู มาชำระล้างบาปกันที่ แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี |
|
บรรยากาศแม่น้ำคงคายามเช้า ที่ เมืองพาราณสี |
ช่วงบ่าย
- นำท่านชมบ้านนางสุชาดา ธิดากฎุมพีแห่งตำบลอุรุเวลาเสนานิคมผู้ถวายข้าวมธุปายาสแด่มหาบุรุษก่อนการตรัสรู้ ชมวิวทิวทัศน์ริมฝั่ง แม่น้ำเนรัญชราบริเวณท่าสุปปติฏฐะ สถานที่พระมหาบุรุษได้อธิษฐานลอยถาดทองริมฝั่งแม่น้ำ สมควรแก่เวลานำท่านเดินทางไปกราบสักการะพระพุทธเมตตา ในวิหารมหาเจดีย์พุทธคยา เป็นพระพุทธปฏิมากรปางมารวิชัยที่สร้างด้วยหินแกรนิตสีดำในสมัยปาละอายุกว่า 1400 ปี ชมสัตตมหาสถาน 7 แห่งหลังจากตรัสรู้โดยรอบเจดีย์พุทธคยา นั่นคือ โพธิบัลลังก์ อนิมิสเจดีย์ รัตนจงกรมเจดีย์ รัตนฆรเจดีย์ ต้นอชปาลนิโครธ ต้นมุจลินทร์ ต้นราชาตยนะ นำท่านประทักษิณสักการะต้นพระศรีมหาโพธิ์ 3 รอบ สวดมนต์ นั่งสมาธิถวายเป็นพุทธบูชา
|
|
|
|
|
บ้านนางสุชาดา |
บ้านนางสุชาดา |
บ้านนางสุชาดา |
|
|
|
|
เจดีย์พุทธคยา |
ภายในเจดีย์พุทธคยา |
ภายในบริเวณพุทธคยา |
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ |
|
|
|
|
ใกล้ๆต้นพระศรีมหาโพธิ์ |
ภายในบริเวณพุทธคยา |
ภายในบริเวณพุทธคยา |
รัตนจงกรมเจดีย์ |
|
|
|
|
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ |
ภายในบริเวณพุทธคยา |
ภายในบริเวณพุทธคยา |
ภายในบริเวณพุทธคยา |
|
|
|
|
มุจลินทร์โบกขรณี |
มุจลินทร์โบกขรณี |
เจดีย์พุทธคยา |
เจดีย์พุทธคยา |
|
คลิปวีดีโอ เจดีย์พุทธคยา ยามค่ำคืน เมืองคยา |
|
คลิปวีดีโอ เจดีย์พุทธคยา ตอนกลางวัน |
|
พระพุทธเมตตา ภายใน เจดีย์พุทธคยา เมืองคยา |
|
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ภายใน บริเวณเจดีย์พุทธคยา เมืองคยา |
- พระมหาเจดีย์พุทธคยา ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปฏิมากรปางมารวิชัย ที่สร้างด้วยหินแกรนิตสีดำ ในสมัยปาละ อายุกว่า 1400ปี ลักษณะและขนาดพอๆกับพระพุทธรูปปางภูมิสัมผัสที่มถากัวร์วิหาร นครกุสินารา ปิดทองอร่าม มีเครื่องตั้งบูชาหน้าพระพุทธรูป ชาวไทยเรียก องค์พ่อพระพุทธเมตตา มีหินทรงกลมที่มองเห็นเฉพาะฐาน เจ้าหน้าที่ทำไม้เป็นสี่เหลี่ยมครอบไว้
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ อยู่ทิศตะวันตกของพระเจดีย์พุทธคยา ต้นโพธิ์ต้นปัจจุบันปลูกเมื่อ พ.ศ. 2423 อายุประมาณ 132 ปี ลำต้นขนาด 3 คนโอบ สูง 80 ฟุต มีกำแพงทองล้อมรอบไว้เป็นสัดส่วน
เจดีย์มหาโพธิ์ ประดิษฐานอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหาโพธิ์ มี แท่นวัชรอาสน์ อยู่ตรงกลาง รูปทรงกรวย สูงประมาณ 170 ฟุต วัดรอบฐานได้ 85 เมตร ตั้งอยู่บนอาคารรองรับ 2 ชั้น มีเจดีย์บริวาร 4 ด้าน โดยรอบมีเสาหินทรายที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกล้อมไว้อย่างแข็งแรง มีร่องรอยการบูรณะตามยุคตามสมัย บริเวณมหาโพธิ์วิหารนี้กลายเป็นที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่คนโบราณนับถือ มหาชนกล่าวว่า ที่ต้นโพธิ์แห่งนี้เป็นสะดือของโลก หรือ ปัถวินาภิมณฑล เพราะเป็นที่ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มาตรัสรู้และไม่มีที่อื่นรับน้ำหนักของการตรัสรู้ได้
- พระแท่นวัชรอาสน์ หรือบัลลังก์เพชร เป็นแท่นหินสี่เหลี่ยม สลักเสลาลวดลายสวยงาม พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างไว้ เป็นที่พระพุทธเจ้าประทับและตรัสรู้ ขนาดยาว 7 ฟุต 6 นิ้ว กว้าง 4 ฟุต 10 นิ้ว หนา 1 ฟุตครึ่ง และสูง 3 ฟุต เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 3 ของโพธิมณฑล แท่นนี้ตั้งอยู่ระหว่าง พระเจดีย์พุทธคยาและต้นศรีมหาโพธิ์
- สัตตมหาสถาน คือสถานที่ยับยั้งเพื่อเสวยวิมุติสุข หลังจากตรัสรู้แล้ว 7 แห่ง รวม 49 วัน เพื่อตรวจสอบ ทดลอง พระโพธิญาณที่ได้ตรัสรู้นั้นให้แน่พระทัย ตามสถานที่ต่างๆ ได้แก่ โพธิบัลลังก์ อนิมิสเจดีย์ รัตนจงกรมเจดีย์ รัตนฆรเจดีย์ ต้นอชปาลนิโครธ ต้นมุจลินทร์ และต้นราชายตนะ
- โพธิบัลลังก์ อยู่บริเวณต้นศรีมหาโพธิ์ ทิศตะวันตกของเจดีย์ เป็นสัปดาห์แรก ทรงใคร่ครวญปฏิจจสมุปปบาท ทั้งปฏิโลมและอนุโลม ทั้งสายเกิดและสายดับ
- อนิมิสเจดีย์ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ขวามือก่อนเข้าสู่โพธิมณฑล เป็นที่เสวยวิมุตติสุขสัปดาห์ที่สอง ทรงประทับยืน ลืมพระเนตรดูบัลลังก์และต้นโพธิ์ โดยไม่กระพริบเป็นเวลา 7 วัน
- รัตนจงกรมเจดีย์ คือ หินทรายสลักเป็นดอกบัวบานรับแสงอาทิตย์ จำนวน 19 ดอกมีแท่นหินทรายแดงยาว 6 เมตร และป้ายหินอ่อนปักไว้ที่พระองค์เสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่สาม อยู่ระหว่างต้นพระศรีมหาโพธิ์กับอนิมิสเจดีย์ ข้างมหาเจดีย์ทางทิศเหนือ
- รัตนฆรเจดีย์ อยู่ทางด้านทิศเหนือของมหาเจดีย์ เป็นวิหารสี่เหลี่ยมไม่มีหลังคามุง กว้าง 11 ฟุต ยาว 14 ฟุต รอบข้างมีเจดีย์โบราณ พระพุทธรูปสมัยคุปตะและปาละ ในสัปดาห์ที่สี่ ทรงเปล่งฉัพพรรณรังสี
- ต้นอชปาลนิโครธ อยู่ระหว่างแม่น้ำโมหนีกับแม่น้ำเนรัญชรา ใกล้ๆกับเนินดินบ้านนางสุชาดา มีเทวลัยของชาวฮินดู มียอดแหลม เช่นเดียวกับสถูปทั่วไป มีต้นไทรใบใหญ่ อายุร้อยกว่าปี 5-6 ต้น ในสัปดาห์ที่ห้าของการตรัสรู้ ทรงตรึกตรองถึงบุคคลที่สมควรได้รับคำสอน เกิดคำอุปมาแห่งบุคคลเหมือนอุบล 4 เหล่า และท้าวสหัมบดีพรหมเป็นผู้อาราธนาเพื่อแสดงธรรม ก่อนตรัสรู้ พระองค์ได้รับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาด ธิดาแห่งกฎุมพีแห่งอุรุเวลาเสนานิคม ณ ภายใต้ต้นไทรแห่งนี้
- ต้นมุจลินทร์ อยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นศรีมหาโพธิ์ประมาณ 2 กิโลเมตร ห่างจากแม่น้ำเนรัญชราประมาณ ครึ่งกิโลเมตร อยู่ใกล้หมู่บ้านมุจลินทร์ มีสระน้ำที่ชาวบ้านเรียกว่า มุจลินทร์โบกขรณี มีต้นตาลใหญ่ 7-8 ต้นล้อมรอบอยู่ เสวยวิมุตติสุข สัปดาห์ที่ 6 ช่วงนั้นมีพายุเมฆฝนลมแรงตลอด 7 วัน พระยามุจลินทนาคราชได้เข้าถวายอารักขาโดยการแผ่พังพานพร้อมด้วยขนด 7รอบ เพื่อป้องกันความหนาว ลม ฝน แดด เหลือบ ยุง มิให้เบียดเบียนพระองค์ เมื่อฝนหยุดตกมุจลินทร์นาคราชจึงคลายขนด และจำแลงตนเป็นมานพหนุ่มถวายนมัสการ ณ เบื้องพระพักตร์
- ต้นราชายตนะ ต้นที่เคยประทับนั้นอยู่ทางทิศใต้ของต้นศรีมหาโพธิ์ ห่างจากแม่น้ำเนรัญชราไปทางตะวันตก 2 กิโลเมตรครึ่ง เป็นทางผ่านของขบวนกองเกวียน ที่พ่อค้าวาณิชใช้ติดต่อระหว่างพาราณสี ราชคฤห์ โกสัมพี มาแต่โบราณ ในสัปดาห์ที่ 7 นี้มีพ่อค้าสองพี่น้องคือ ตปุสสะและภัลลิกะ นำเกวียนบรรทุกสินค้ามาจากอุกกลชนบทเดินทางมาถึงเกิดความเลื่อมใส พากันเข้าเฝ้าถวายข้าวสัตตุ (ข้าวตู) ที่เป็นก้อนและผง พระองค์ทรงดำริว่า พระตถาคตทั้งหลายไม่รับด้วยมือ ท้าวเทวราชทั้ง 4 ทรงนำบาตรศิลา 4 ใบ แล้วอธิษฐานให้เป็นบาตรเดียว รับข้าว จากนั้นพ่อค้าทั้งสองจึงประกาศตนเป็นอุบาสกขอถึงพระพุทธ พระธรรม เป็นสรณะตลอดชีวิต
- วัดไทยพุทธคยา ตั้งอยู่ตำบลโพธิคยา จังหวัดคยา รัฐพิหาร ภายในมีพระอุโบสถที่งดงาม จำลองมาจากวัดเบญจมบพิตร ประดิษฐานพระชมพูทีปนิวัตรสุโขทัย และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงาม มีอาคารที่พักสำหรับผู้แสวงบุญ 2 หลัง เป็นวัดต้นแบบของวัดไทยในต่างประเทศ
ข้อมูลจาก
- หนังสือ สู่แดนพุทธองค์ อินเดีย เนปาล(ฉบับนักเดินทาง) โดยพระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทโธ)
- หนังสือนิตยสาร Check Tour
- หนังสือนิตยสาร เที่ยวรอบโลก
- เว็บ wikipidia
|
|
|
|
วัดไทยพุทธคยา |
วัดไทยพุทธคยา |
วัดไทยพุทธคยา |
วัดไทยพุทธคยา |
|
|
|
|
วัดไทยพุทธคยา |
วัดไทยพุทธคยา |
วัดไทยพุทธคยา |
วัดไทยพุทธคยา |
|
|
|
|
ห้องพักที่วัดไทยพุทธคยา |
ห้องพักที่วัดไทยพุทธคยา |
ห้องพักที่วัดไทยพุทธคยา |
ห้องน้ำในห้องพัำกวัดไทยพุทธคยา |
รูปโดย ทริปดีดี ดอทคอม |
|