การเดินทางช่วงเช้า
- นำท่านออกเดินทางสู่ เมืองพาราณสี หรือ วาราณสี (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6-7ชั่วโมง) ดินแดนแห่งการแสวงบุญชำระบาป มีแม่น้ำคงคาไหลผ่าน มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 4,000 ปี จัดเป็นเมืองสุทธาวาสที่สถิตแห่งศิวเทพและถือว่าเป็นเมืองอมตะของอินเดีย เป็นที่แสวงบุญทั้งของชาวฮินดูและชาวพุทธทั่วโลก
ช่วงบ่าย
- นำท่านเดินทางสู่ เมืองสารนาถ นำท่านชม วัดไทยสารนาถ ชม สถูปเจาคันธี ซึ่งสร้างเป็นอนุสรณ์ที่ปัญจวัคคีย์ได้พบกับพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก ชม ธรรมราชิกสถูป เป็นสถูปที่เคยเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุมาก่อน ชม มูลคันธกุฏี สถานที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาแรกและพรรษาที่12 ชม ยสเจดีย์ สถานที่ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมให้กับยสกุลบุตร จากนั้นนำท่านสวดมนต์ นั่งสมาธิ ที่ ธัมเมกขสถูป ป่าอิสิปตนมฤคทายวันสถานที่แสดงปฐมเทศนาธรรมจักกัปปวัตนสูตรโปรดเบญจวัคคีย์ทั้งห้า ชมพิพิธภัณฑ์สารนาถ ที่จัดแสดงและเก็บรักษาโบราณวัตถุที่ขุดค้นได้ในบริเวณสารนาถเช่น พระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ เทวรูป เครื่องใช้สอยในยุคนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิมากรรมที่เป็นเลิศคือพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาที่งดงามยิ่งนัก สิงห์อันเป็นตราราชการแผ่นดินของอินเดีย สมควรแก่เวลานำท่านเดินทางกลับสู่ที่พัก
- สารนาถ ป่าอิลิปตนมฤคทายวัน ตั้งอยู่ในเมืองพาราณสี เป็นสังเวชนียสถานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา โปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เมื่อวันเพ็ญอาสาฬหมาส ก่อนพุทธศก 45 ปี ภายในมีพุทธโบราณสถานมากมาย
จากหนังสือเที่ยวรอบโลก : ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน มีความหมายว่า ป่าอันยกให้แก่หมู่กวาง กลุ่มพุทธสถานสารนาถ หมายถึง เพราะพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงประกาศนั้นเป็นที่พึ่งอันมีสาระแก่มหาชนทั้งปวง
- อนุสาวรีย์ธรรมปาละ วิหารที่บรรจงสร้างอย่างงดงาม เจดีย์สูงเด่นเป็นพุทธวิหารเรียก มูลคันธกุฎีวิหาร อนาคาริกธรรมปาละ รวบรวมศรัทธาชาวพุทธสร้างเมื่อปี พ.ศ.2474 ฝาผนังรอบในเป็นภาพเขียนที่นำแบบมาจากจิตรกรรมอันดับหนึ่งของโลกคือ ถ้ำอชันตา เป็นภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติสวยงามมาก รูปสลักบุรุษยืนสง่าท่ามกลางหมู่ดอกไม้ บนแท่นสูงหน้าพุทธวิหารนั่นคือ อนุสาวรีย์ของท่านอนาคาริกธรรมปาะ เป็นกำลังสำคัญในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย ชาวพุทธทั่วโลกรู้จักและบุคคลไม่ควรลืม รอบๆวิหารมีต้นโพธิ์ลังกา ซึ่งท่านอนาคาริกธรรมปาละได้นำหน่อต้นโพธิ์ลังกา มาจากเมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา ปลูกไว้ที่สารนาถเมื่อ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474
|
|
|
|
มูลคันธกุฎีวิหาร |
ภายในอนุสาวรีย์ธรรมปาละ |
ภายในมูลคันธกุฎีวิหาร |
ต้นโพธิ์ลังกา |
|
|
|
|
ภายในมูลคันธกุฎีวิหาร |
ภายในมูลคันธกุฎีวิหาร |
ภายในมูลคันธกุฎีวิหาร |
มูลคันธกุฎีวิหาร |
|
|
|
|
ภายในอนุสาวรีย์ธรรมปาละ |
ภายในอนุสาวรีย์ธรรมปาละ |
ต้นโพธิ์ลังกา |
ภายในมูลคันธกุฎีวิหาร |
- วัดไทยสารนาถ สร้างขึ้นรูปแบบผสมไทยผสมศิลปะสถาปัตยกรรมแห่งยุคสมัยได้ดีเยี่ยม โดยท่านพระครูประกาศสมาธิคุณ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2518 เป็นอนุสรณ์ของชาวพุทธไทยในสังเวชนียสถานที่แสดงปฐมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพื้นที่ 34 ไร่ แบ่งเป็นเขตอุโบสถ ที่รับรอง ผู้แสวงบุญ กุฏิกรรมฐาน โรงเรียนและศาลาปฏิบัติธรรม เป็นต้น
- สถูปเจาคันธี อยู่ที่สารนาถ เมืองพาราณสี ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 9 กิโลเมตร เป็นอนุสรณ์ปัญจวัคคีย์ที่สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 7 เพื่อเป็นที่ระลึกว่าปัญจวัคคีย์หลีกหนีพระองค์ ด้วยสำคัญผิดในมิจฉาทิฐิอย่างแรง มาอาศัยอยู่ที่นี้หลักจากตรัสรู้ พระพุทธองค์ทรงพระเมตตาเสด็จมาโปรดปัญจวัคคีย์ สันนิษฐานว่าพบกันที่นี่จุดแรกและได้ทำความเข้าใจกัน เดินทางสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เดิมเจดีย์นี้สูง 300ฟุต แต่ผุพังไปตามกาลเวลา ปัจจุบันเหลือเพียง 70 ฟุต มีลักษณะส่วนบนที่เปลี่ยนไปมาก เมื่อครั้งราชวงศ์โมกุลเรืองอำนาจเกิดความวุ่นวายแย่งราชสมบัติกัน เป็นเหตุให้หูมายูนกษัตริย์องค์ที่สามต้องไร้บัลลังก์ถึง 15 ปี และลี้ภัยมาอยู่ที่สถูปแห่งนี้ เมื่อบ้านเมืองสงบสุข อักบาร์มหาราช ผู้สืบราชสันติวงศ์ต่อจากหูมายูนผู้เป็นบิดา โปรดให้สร้างหอคอย 8 เหลี่ยมขึ้นในปี พ.ศ.2131 บนสถูปทางพุทธศาสนาที่สูงถึงฟ้าคราม เพื่อเป็นการระลึกถึงพระบิดา สร้างทับบนยอดเจดีย์เดิม
- ธรรมราชิกสถูป ฐานสถูปทรงกลม อยู่ไม่ห่างจากมูลคันธกุฎี เป็นที่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาในฤดูฝนแรก และเสาศิลาจารึกที่จอมจักรพรรดิทรงประดิษฐานไว้ ถ้าเราเดินทางเข้าทางประตูใหญ่ ไปตามถนนที่ปูลาดหินลูกรังไว้จะเห็นเป็นอิฐก่อตั้งในลักษณะทรงกลม ลานกว้างพอนั่งได้ 30 คน เชื่อว่าเป็นสถานที่ที่ทรงโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 4 ที่เหลือ คือ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ รุ่นแรกๆจะสร้างด้วยอิฐ หลังๆจะใช้ศิลาหุ้มเป็นแบบสถูปสาญจิ สถาปนาโดยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อปี พ.ศ. 295 และมีสถูปใหญ่อีกองค์หนึ่ง คือ ธรรมราชิกะ ที่สารนาถขนาดย่อมลงกว่าสถูปสาญจิ เคยประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุมาก่อน
- มูลคันธกุฏี เป็นที่ประทับจำพรรษาแรกและพรรษที่ 12 ของพระพุทธเจ้า เป็นอาคารปลูกสร้างแบบอินเดียโบราณ ด้วยศิลาทราย สลับด้วยอิฐก่อปูน บางแห่งสลักลวดลาย ด้านตะวันออกคือที่ตั้งของเสาหิน ด้านทิศใต้มีเจดีย์หินทราย มีบรรจุสิ่งของสำคัญ ทิศตะวันออกมีลักษณะเป็นห้องโถงเคยมีพระท่านมาลงปาฏิโมกข์กันที่นี่ ใกล้ๆมีเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช สูง 50 ฟุต แม้จะหักเป็น 4 ท่อน ก็ยังเก็บไว้อย่างดี บนเสาหินนี้มีสิงห์อโศกที่แผ่นสีหนาทไปทั่ว 4 ทิศ ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์
|
|
|
|
สถูปเจาคันธี |
ยสเจดีย์ |
ยสเจดีย์ |
วัดไทยสารนาถ |
|
|
|
|
วัดไทยสารนาถ |
วัดไทยสารนาถ |
วัดไทยสารนาถ |
วัดไทยสารนาถ |
|
|
|
|
วัดไทยสารนาถ |
วัดไทยสารนาถ |
วัดไทยสารนาถ |
วัดไทยสารนาถ |
|
|
|
|
วัดไทยสารนาถ |
วัดไทยสารนาถ |
วัดไทยสารนาถ |
ห้องพักที่วัดไทยสารนาถ |
- ยสเจดีย์ เป็นสถานที่แห่งความไม่ขัดข้อง ไม่มีความวุ่นวาย เป็นเจดีย์ขนาดเล็ก อาคารสี่เหลี่ยมมุงไว้อย่างดี เชื่อกันว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงอิทธาภินิหาร โปรดพระยสกุลบุตร ผู้เป็นบุตรเศรษฐีแห่งเมืองพาราณสี ด้วยอนุปุพพิกถา ในข้อธรรมที่แสดงทาน ศีล สวรรค์ เนขัมมะ กามทีนพ พระยสมานพได้ดวงตาเห็นธรรมและนำให้บิดาได้เป็นปฐมอุบาสก มารดาและภรรยาได้เป็นปฐมอุบาสิกา มีพระพุทธวจนะที่ว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง มาเถิดยสะ นั่งลง เราจักแสดงธรรมแก่เธอ เมื่อเราเดินทางมาถึงจุดนี้ก็ควรนั่งลงฟังธรรม สักการบูชา อธิษฐานให้ชีวิตปราศจากความวุ่นวาย มีหน้าที่การงานรุ่งเรืองไม่ขัดข้อง
- ธัมเมกขสถูป คือสถานที่แสดงธรรมที่นำให้ถึงความหลุดพ้น เป็นสถูปโบราณทรงบาตรคว่ำก่อด้วยหินทราย สถูปสร้างอุทิศแด่ผู้เห็นธรรม ยอดทรงกรวย สูง 80 ฟุต โดยรอบ 120 ฟุต สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ณ ที่แห่งนี้เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหามานะและอัสชิ เนื้อหาธรรม ว่าด้วยทางสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ในการปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์และเข้าถึงนิพพานอันเป็นปลายทางแห่งพุทธศาสนา โดยรอบสถูปมี 8 ช่อง มีพระพุทธรูปทองคำประดิษฐานครบ ผู้แสวงบุญจะเดิน ประทักษิณาวัตร สวดมนตร์ ไหว้พระ เป็นที่ที่โกณฑัญญพราหมณ์ได้ดวงตาเห็นธรรมและอุปสมบทเป็นภิกษุองค์แรกในพุทธศาสนา ยังเป็นที่ที่ส่งพระธรรมทูตชุดแรก จำนวน 60 รูป ไปประกาศพระธรรมเป็นครั้งแรก
- ศิลาจารึกพระเจ้าอโศก เคลือบด้วยน้ำยาพิเศษเป็นสิงห์อินเดียเด่นสง่า ในช่วงที่เกิดวิกฤตครั้งใหญ่ ศิลานี้ถูกทำลายหล่นลงมา 4 ท่อน เจ้าหน้าที่กรมโบราณสถานจึงนำมาเรียงตั้งไว้ในที่เดียวกัน รวมกันเป็น 5 ท่อน ให้เห็นคำศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นอักษรพราหมีและภาษาบาลีจารึกที่หลักศิลา ซึ่งเป็นคำเตือนภิกษุและชี ซึ่งจำพรรษาอยู่วัดนี้ให้มั่นอยู่ในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด
- พิพิธภัณฑ์สารนาถ เป็นอาคารหินทราย ตั้งด้านหน้าสถูป ไม่ไกลจากวัดไทยมฤคทายวันมากนัก เป็นที่เก็บรักษาโบราณวัตถุ จากที่ขุดค้นได้ในบริเวณสารนาทมีพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ เทวรูป เครื่องใช้สอยในยุคนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประติมากรรมพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาขัดสมาธิ ทรงกระทำนิ้วที่เรียกว่า ธรรมจัก ที่ใต้ฐานสลักเป็นปัญจวัคคีย์กับอุปัฐากกำลังนั่งประนมมือ โดยพระพุทธองค์ประทับอยู่เหนือธรรมจักร เบื้องหลังที่เห็นเป็นวงกลม เรียก ประภามณฑล มีเทพเจ้า 2 องค์ แสดงความเคารพทั้งสองข้าง เป็นแบบฉบับทางศิลปกรรมที่งดงามที่สุดของอินเดีย
ภายในจัดแสดงศิลปวัตถุนับพันชิ้น นอกจากนี้ยังมีพระอวโลกิเตศวรในลัทธิมหายาน รูปพระศรีอริยเมตไตรย และโบราณวัตถุเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์อีกมากมาย เช่น รูปพระกฤษณะที่รัฐบาลขุดได้จากซากปรักหักพังในบริเวณโบราณสถาน เขตอิสิปตนมฤคทายวัน และที่น่าสนใจคือสิงห์ อันเป็นตราราชการแผ่นดินของอินเดีย จอมจักรพรรดิอโศกประดิษฐานไว้ ศิลาจารึกที่เป็นหัวเสานี้ ประดิษฐ์ขึ้นด้วยหินทรายอย่างดี มีรูป สิงโต 4 ตัว หันหลังเข้าหากัน หันหน้าออกสี่ทิศ ที่ขอบแท่นสลักเป็นรูปกงล้อธรรมจักร และรูปสัตว์ 4 ชนิดสลับกัน คือ ราชสีห์ ช้าง ม้า และโค มีความหมายแห่งอำนาจความกล้าหาญ ความมั่นใจ พลัง หมายถึง ผู้พิทักษ์ทิศ ทั้ง 4 และดอกบัว หมายถึงต้นกำเนิดชีวิต
ราชสีห์ คือ พลัง ม้า คือความรวดเร็ว ช้าง คือปัญญาชาญฉลาด และโค คือความแข็งแรง ด้านล่างของสิงห์ มีอักษรเทวนาครีถอดความได้ว่า ความจริงเท่านั้นมีชัยชนะเหนือทุกสิ่ง (ค่าเข้าชมประมาณ 2 รูปี ส่วนค่าเข้าชมสารนาถ 100 รูปี หรือ 2 ดอลล่ายูเอส)
ข้อมูลจาก
- หนังสือ สู่แดนพุทธองค์ อินเดีย เนปาล(ฉบับนักเดินทาง) โดยพระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทโธ)
- หนังสือนิตยสาร Check Tour
- หนังสือนิตยสาร เที่ยวรอบโลก
- เว็บ wikipidia
|
|
|
|
ธัมเมกขสถูป |
ธัมเมกขสถูป |
ธัมเมกขสถูป |
ธัมเมกขสถูป |
|
|
|
|
ธัมเมกขสถูป |
ธัมเมกขสถูป |
ธัมเมกขสถูป |
ธัมเมกขสถูป |
|
|
|
|
ธัมเมกขสถูป |
ธัมเมกขสถูป |
ธัมเมกขสถูป |
ธัมเมกขสถูป |
|
|
|
|
ธัมเมกขสถูป |
ธัมเมกขสถูป |
ธัมเมกขสถูป |
ธัมเมกขสถูป |
|
คลิปวีดีโอ ธัมเมกขสถูป สถานที่แสดงปฐมเทศนา เมืองสารนาถ |
|
คลิปวีดีโอ พาราณสี และ สถูปเจาคันธี |
|
ศิลาจารึกพระเจ้าอโศก ที่หักเป็น 4 ท่าน |
รูปและวีดีโอ โดย ทริปดีดี ดอทคอม
|
|