การเดินทางช่วงเช้าหลังรับประทานอาหารนำท่าน
- เมืองสาวัตถี (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6- 7 ชั่วโมง) ในสมัยพุทธกาล เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล 1 ใน 16 แคว้น เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าขายและเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าประทับนานที่สุดถึง 25 พรรษา ปัจจุบันเหลือเพียงซากโบราณสถาน ให้ท่านได้ชมวิถีชีวิตชนบทของประเทศอินเดียระหว่างการเดินทาง
- สาวัตถี เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโกศล เป็น 1ใน 6 ของเมืองมหาอำนาจ รุ่งเรืองมาก มีอำนาจทางการเมืองและการทหาร แผ่นดินอุดมด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร พระพุทธองค์ได้ประกาศพระพุทธศาสนาอยู่ที่นี่ถึง 25 พรรษา เสด็จประทับที่เชตะวันมหาวิหาร 19 พรรษาและที่บุพพาราม 6 พรรษา ปัจจุบันสาวัตถี มีซากกองอิฐ มูลกองดิน เรียงตั้งในลักษณะเมืองเก่า
ช่วงบ่าย นำท่านชมเชตวันวิหารเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดและเป็นวัดที่พระพุทธเจ้ารวมทั้งพระอรหันต์ได้จำพรรษาอยู่นานที่สุดถึง 19 พรรษา สร้างโดยอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐีชาวเมืองสาวัตถี เดินทางไปค้าขายที่เมืองราชคฤห์ได้พบกับพระบรมศาสดาที่สีตะวันและเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธธรรม เมื่อกลับมาจึงไปขอซื้อป่าไม้ของเจ้าเชตเพื่อสร้างอารามถวาย กล่าวกันว่าต้องขนเงินมาปูพื้นที่ให้เต็มสวนจึงจะซื้อที่ดินมาสร้างวัดถวายแด่พระพุทธเจ้าได้เพราะในสมัยนั้นดินแดนทุกแห่งเป็นของผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ จากนั้นนำท่านกราบสักการะต้นโพธิ์พระอานนท์ อายุกว่า 2500 ปี ซึ่งเป็นอายุยาวนานที่สุดในโลกร่วมกับต้นโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระประเทศศรีลังกา สักการะมูลคันธกุฏีของพระพุทธเจ้า กุฎิพระโมคคัลลา กุฎิพระสารีบุตร กุฎิพระสิวลี กุฎิพระอานนท์ และสถูปที่บรรจุสารีริกธาตุของพระอรหันต์ ชมบ่อน้ำที่พระพุทธเจ้าใช้เป็นที่สรงน้ำตลอดระยะเวลาที่จำพรรษาอยู่ ชมบ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เศรษฐีองคมนตรีที่ปรึกษาเศรษฐกิจของพระเจ้าปเสนทิโกศล ชมบ้านปุโรหิตบิดาขององคุลีมา, เนินดินที่พระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์ สมควรแก่เวลานำท่าน ถวายผ้าป่า ณ วัดไทยเชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี
|
|
|
|
วัดเชตวันมหาวิหาร |
วัดเชตวันมหาวิหาร |
วัดเชตวันมหาวิหาร |
วัดเชตวันมหาวิหาร |
|
|
|
|
วัดเชตวันมหาวิหาร |
วัดเชตวันมหาวิหาร |
ต้นโพธิ์พระอานนท์ |
ต้นโพธิ์พระอานนท์ |
|
|
|
|
วัดเชตวันมหาวิหาร |
วัดเชตวันมหาวิหาร |
วัดเชตวันมหาวิหาร |
บ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐี |
- เชตวันมหาวิหาร สร้างถวายโดยท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านเดินทางไปค้าขายที่เมืองราชคฤห์ได้พบพระบรมศาสดาที่สีตะวัน เกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงอาราธนานิมนต์ให้ท่านมาโปรดสัตว์ที่เมืองสาวัตถี แล้วท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ไปขอซื้อไม้จากเจ้าเชต นอกเมืองสาวัตถีเพื่อสร้างเป็นอารามถวายพระบรมศาสดา ตอนแรกเจ้าเชตไม่ยอมขายและบอกว่าให้ท่านเศรษฐีนำเหรียญทองมาปูให้เต็มป่าแล้วจึงจะยอมขาย ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็นำเหรียญทองมาปูจริงๆ เจ้าเชตจึงได้ยอมขายและลดราคาให้ครึ่งหนึ่ง และให้เงินไปสร้างมหาวิหารด้วย จึงได้ใช้ชื่อ เชตะวันตามเจ้าของเดิม จากนั้นได้ถูกพวกมุสลิมรุกรานในปี พ.ศ. 1671 เข้ามาทำลายวัดวาอารามจนหมดสิ้น เหลือเพียงซากอิฐ ซากปูน บริเวณวัดเชตวันจะมีรั้วเหล็กเชื่อมกับประตูทางเข้า เดินไปข้างในจนถึงพระเจดีย์อรหันต์ 8 ทิศ กุฎีพระมหากัสสปะ กุฎีพระสิวลี กุฎีพระโมคคัลลานะ กุฎพระองคุลีมาล กุฎีพระอานนท์ กุฎีพระสารีบุตร
- มูลคันธกุฏีของพระพุทธเจ้า เป็นซากที่พระพุทธเจ้าประทับ ได้รับการบูรณะให้พอเห็นภาพเดิมกว้างขวางกว่าบนยอดเขาคิชภูฎ จึงเรียกที่นี่ว่ามหาคันธกุฎี ด้านหน้ายังเหลือซากแท่นอิฐใหญ่ เป็นที่ประทับเวลาแสดงธรรม ท่านอูอาสยะเรียกว่า อสุรเทวดา หมายถึงที่ประชุมชนทุกเหล่าที่มาฟังธรรมเทศนา
- บ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐี อยู่ไม่ห่างจากกำแพงวัดเชตวันฯ ปัจจุบันเหลือเพียงซากก้อนอิฐที่เรียงเป็นชั้นปรักหักพัง เกิดในบ้านตระกูลเศรษฐี เดิมชื่อ สุทัตต อยู่เมืองสาวัตถี ต่อมาได้นับถือพระพุทธศาสนา บรรลุโสดาปัตติผล มีศรัทธาแรงกล้า สร้างวัดถวายพระพุทธเจ้า สงเคราะห์ผู้ยากไร้ จนได้ชื่อว่า อนาถบิณฑิก แปลว่า ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา หรือเศรษฐีขวัญใจคนจน ได้รับการยกย่องให้เป็นเอตทัคคะในหมู่ทายกฝ่ายอุบาสก
- วัดไทยเชตวันมหาวิหาร อยู่ในนครสาวัตถี เป็นสถาปัตยกรรมร่วมสมัย มีพระเชตะวันมหาวิหารและบุบพารามมหาวิหารเป็นหลัก สร้างอยู่ใกล้ๆกับ สถูปยมกปาฏิหาริย์ เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จสู่ดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดาและทรงแสดงฤทธิ์ปราบเหล่าเดียรถีย์ให้พ่ายแพ้แก่พระบารมี มีพื้นที่ทั้งหมด 38 ไร่ และอยู่ห่างจากวัดเชตวันมหาวิหารสมัยพุทธกาลประมาณ 2 กิโลเมตร
|
คลิปวีดีโอ วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี |
|
ต้นโพธิ์อานันทโพธิ์ที่ วัดเชตวันมหาวิหาร |
|
กุฎีพระสิวลีี่ ที่ วัดเชตวันมหาวิหาร |
|
พระเจดีย์อรหันต์ 8 ทิศ ที่ วัดเชตวันมหาวิหาร |
|
คลิปวีดีโอ บ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เมืองสาวัตถี |
รูปและคลิปวีดีโอโดย www.TripDeeDee.com
ข้อมูลจาก
- หนังสือ สู่แดนพุทธองค์ อินเดีย เนปาล(ฉบับนักเดินทาง) โดยพระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทโธ)
- หนังสือนิตยสาร Check Tour
- หนังสือนิตยสาร เที่ยวรอบโลก
- เว็บ wikipidia
|