การเดินทางช่วงเช้าหลังรับประทานอาหารนำท่าน
- เดินทางสู่เมืองไวสาลี (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1.30 ชั่วโมง) ในสมัยพุทธกาลเคยเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สำคัญ และพระพุทธองค์เสด็จเยี่ยมที่ไวสาลีในพรรษาที่ 5 เมืองไวสาลี เป็นเมืองหลวงในสมัยพุทธกาล มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่ง และเป็นเมืองที่มั่นคงในพระพุทธศาสนา ในช่วงหลังพุทธกาล เมืองนี้ได้ตกเป็นของแคว้นมคธภายใต้การนำของพระเจ้าอชาตศัตรูพระราชาแห่งเมืองราชคฤห์ หลังการล่มสลายของราชวงศ์พระเจ้าพิมพิสารในราชคฤห์ได้ย้ายเมืองหลวงมาที่ไวสาลี ทำให้เมืองนี้เจริญถึงขีดสุด นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่ใช้ในการทำทุติยสังคายนาพระพุทธศาสนา ก่อนที่จะถูกทิ้งร้าง ย้ายไปเมืองปาฏลีบุตรหรือปัฏนา ปัจจุบันเมืองเวสาลีเป็นซากโบราณสถานอยู่ที่ตำบลบสาร์ท หรือเบสาร์ท (Basarh-Besarh) ในจังหวัดไวสาลี ที่เขตติดต่อของอำเภอสดาร์ (Sadar) กับ (Hajipur) ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการจังหวัด เมืองไวสาลีห่างจากหซิปูร์ 35 กิโลเมตร ห่างจากมุซัฟฟาร์ปูร์ 37 กิโลเมตร โดยอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมุซัฟฟาร์ปูร์ ที่มา: wikipidia
- นำท่านชม ชมกูฏาคารศาลาวัดป่ามหาวัน อารามที่กษัตริย์ลิจฉวีสร้างถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ในป่ามหาวันทางเหนือของอาณาจักรวัชชีในป่าหิมาลัยและพระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ในพรรษาที่ 5 ชมเสาอโศกที่มีรูปสิงห์อยู่ในลักษณะนั่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกที่สมบูรณ์ที่สุด ปัจจุบันเหลือเพียงซากโบราณสถานที่ประกอบไปด้วยสังฆาราม ห้องพัก ห้องประชุม
|
|
|
|
วัดป่ามหาวัน |
เสาอโศกที่สมบูรณ์ที่สุด |
วัดป่ามหาวัน |
วัดป่ามหาวัน |
|
|
|
|
วัดป่ามหาวัน |
วัดป่ามหาวัน |
วัดป่ามหาวัน |
วัดป่ามหาวัน |
|
คลิปวีดีโอ วัดป่ามหาวัน ใกล้เมือง เมืองไวสาลี |
|
วัดป่ามหาวันและเสาอโศกที่มีความสมบูรณ์ที่สุด |
|
|
|
|
เกสริยาสถูป |
เกสริยาสถูป |
เกสริยาสถูป |
เกสริยาสถูป |
- ชมปาวาลเจดีย์ สถานที่พระยามารได้เข้ามากราบทูลขอให้พระองค์เสด็จปรินิพพาน เป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงปลงอายุสังขาร พุทธวาจาในวันปลงอายุสังขาร สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา ขอท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ชนเหล่าใดทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ทั้งพาล ทั้งบัณฑิต ทั้งมั่งมี ทั้งขัดสน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า จากนั้นนำท่านออกเดินทางสู่เมืองกุสินารา (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 - 6 ชั่วโมง) เป็นนครแห่งมหาปรินิพพาน สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ สถานที่แจกพระบรมสารีริกธาตุ
|
|
|
|
ปาวาลเจดีย์ |
ปาวาลเจดีย์ |
ปาวาลเจดีย์ |
ปาวาลเจดีย์ |
|
คลิปวีดีโอ ปาวาลเจดีย์ เมืองไวสาลี |
|
วัดป่ามหาวันและเสาอโศกที่มีความสมบูรณ์ที่สุด |
|
|
|
|
มกุฏพันธเจดีย์ |
มกุฏพันธเจดีย์ |
มกุฏพันธเจดีย์ |
มกุฏพันธเจดีย์ |
|
|
|
|
มกุฏพันธเจดีย์ |
มกุฏพันธเจดีย์ |
มกุฏพันธเจดีย์ |
มกุฏพันธเจดีย์ |
ช่วงบ่าย หลังอาหารนำท่านเดินทางไปกราบสักการะ มหาปรินิพพานสถูป ซึ่งเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานภายใต้ต้นสาละคู่ เป็นพุทธสถานที่พระพุทธเจ้าประทานการบวชให้สาวกองค์สุดท้าย และยังเป็นที่ตรัสเทศนาปัจฉิมโอวาทสุดยอดแห่งพระธรรมคำสอนคือความไม่ประมาท ชมพระสถูปปรินิพพาน นำท่านชม พุทธวิหารปรินิพพาน ซึ่งภายในพระวิหารเป็นปฏิมากรรมพระพุทธปางปรินิพพานเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์ที่กำลังเสด็จดับขันธปรินิพพาน ชมสถูปพระอานนท์ที่สร้างขึ้นบริเวณที่สันนิษฐานว่าพระอานนท์ยืนร้องไห้ ชม พราหมณ์เจดีย์ ซึ่งเป็นสถานที่แจกพระบรมสารีริกธาตุ และกราบสักการะ มกุฏพันธเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ สมควรแก่เวลานำท่านชม วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์
- พราหมณ์เจดีย์ หมายถึง สถูปที่เป็นอนุสรณ์ของโทณพราหมณ์ที่แจกพระบรมสารีริกธาตุ หรือที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเป็นสถานที่แจกพุทธสารีริกธาตุ อยู่ทางทิศตะวันออก ประมาณ 1 กิโลเมตร จากสถูปใหญ่ ห่างจากเส้นกุสินารา-เดวาเวีย ออกไปทางทิศใต้ประมาณ 300 เมตร ปัจจุบันเป็นเพียงกองดินขนาดกลาง และต้นโพธิ์ขนาดใหญ่
- มกุฏพันธเจดีย์ เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ มีชื่อท้องถิ่นว่า รามภาร์ กา ดีลา เป็นที่ประกอบพิธีอภิเษกในการเข้ารับตำแหน่งเป็นรัฐบาล มัลลิกษัตริย์ได้ยกขึ้นเป็นที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ โดยตั้งเป็นตะกอนขึ้นในบริเวณมกุฎพันธเจดีย์ เมื่อถวายพระเพลิงแล้วจึงก่อพระสถูปท่ามกลางทาง 4 แพร่ง มีเรื่องเล่าว่า เมื่อทำการสักการบูชาพระบรมศพครบ 7 วัน มัลลิกษัตริย์เตรียมอัญเชิญพระพุทธสรีระไปถวายพระเพลิง ตอนแรกจะไปทางทิศใต้ แล้วถวายพระเพลิงนอกเมือง แต่เมื่อเข้าไปยกก็เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้น คือยกไม่ไหว พระอนุรุทธจึงชี้แจงว่าความประสงค์ของมัลลิกษัตริย์กับเทพยดาไม่ตรงกัน ประสงค์ให้นำขบวนไปทางทิศเหนือเข้าสู่ตัวเมืองกุสินาราผ่านออกทางประตูเมืองด้านตะวันออกตรงมายังมกุฎพันธเจดีย์แล้วถวายพระเพลิงที่นั่น เมื่อทราบเช่นนั้นมัลลิกษัตริย์ได้เดินทางตามเส้นทางดังกล่าว จนถึงมกุฎพันธเจดีย์จึงเชิญพระพุทธสรีระขึ้นสู่เชิงตะกอนไม้จันทน์สูง 120 ศอก แล้วจุดเพลิง เกิดเหตุอัศจรรย์อีกคือ ไฟไม่ติด ทำอย่างไรก็ไม่ติด เหตุเพราะเทพยดายังคอยพระมหากัสสปะสาวกผู้ใหญ่ก่อน ขณะที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์พระมหากัสสปะอยู่ในป่าใกล้เมืองปาวา เมื่อทราบข่าวการปรินิพพานรีบเดินทางมา ทำประทักษิณาวรรตพระพุทธสรีระ 3 รอบ กราบพระบาท ขอประทานอภัยโทษ เท่านั้นเอง ไฟก็ลุกขึ้นที่เชิงตะกอน
มกุฎพันธเจดีย์นั้นสูงประมาณ 50 ฟุต ได้มีการบูรณะระหว่างปี พ.ศ.2453-2455 เพราะมีพวกแสวงโชคมาขุดหาสมบัติโบราณลงไปเป็นช่องจนถึงก้นสถูป เมื่อคราวสถูปใหญ่พังลงมา มองเห็นไกลๆคล้ายกับภูเขาลูกหนึ่ง พื้นดินมีสีเหลืองปนดำ บางแห่งเป็นดินดำร่วนเหมือนถ่านไฟ และมีการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อครั้งฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษ เนื่องด้วยสถูปเป็นเนินดิน ก่อก้อนอิฐหุ้ม เมื่อถูกฝนหนักเข้าก็ทรุดและพังลงและมีการบูรณะอีกครั้งปลายปี พ.ศ. 2542
- สาลวโนทยาน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ปางปรินิพพาน สร้างไว้ราว พ.ศ. 900 มีความยาว 23 ฟุต 9นิ้ว กว้าง 5 ฟุต 6 นิ้ว องค์พระยาว 10 ฟุต สูง 2 ฟุต 1 นิ้ว ผู้แสวงบุญเดินทางมากราบไหว้สักการะ ห่มผ้า สวดมนตร์ให้มิขาดสาย
|
มกุฏพันธเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ |
|
คลิปวีดีโอ มกุฏพันธเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ |
|
|
|
|
สาลวโนทยาน |
สาลวโนทยาน |
สาลวโนทยาน |
สาลวโนทยาน |
|
|
|
|
สาลวโนทยาน |
สาลวโนทยาน |
สาลวโนทยาน |
สาลวโนทยาน |
|
|
|
|
สาลวโนทยาน |
สาลวโนทยาน |
สาลวโนทยาน |
สาลวโนทยาน |
|
|
|
|
สาลวโนทยาน |
สาลวโนทยาน |
สาลวโนทยาน |
สาลวโนทยาน |
|
คลิปวีดีโอ สาลวโนทยาน สถานที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ปางปรินิพพาน |
- วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ อยู่กึ่งกลางระหว่างสาลวโนทยานกับมกุฎพันธเจดีย์ในเขตจังหวัดกุศินาคาร์ รัฐอุตตรประเทศ มีพื้นที่ประมาณ 14 ไร่เศษ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 เพื่อน้อมเป็นพุทธบูชาและเฉลิมพระเกียรติการครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีและเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในดินแดนพุทธภูมิ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อว่า วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ และพระราชทานนามพระพุทธรูปองค์พระประธานในพระอุโบสถว่า พระพุทธสยัมภูญาณ พร้อมพระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์ภาพทรงผนวช ฉัตร 3 ชั้น ภาพพระมหาชนก ภาพพระกรณียกิจ ตราสัญลักษณ์ครองราชย์ 50 ปี ตราสัญลักษณ์สมโภชพระชนมายุ 72 พรรษา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. เพื่อประดิษฐานไว้ที่หน้าบันพระอุโบสถ นอกจากนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เสด็จแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระมหาเจดีย์ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2544 ตอนนี้มีสถานที่พัก สำหรับผู้ที่มาปฏิบัติกรรมฐาน รักษาศีล และให้การสงเคราะห์ด้วยการเปิดสถานรักษาพยาบาล กุสินาราคลินิก ตรวจรักษาคนยากจน ด้อยโอกาส ประมาณวันละ 50-110 ราย มีแพทย์ประจำ พยาบาล เภสัชกร มาทำงานทุกวัน รักษาฟรีไม่เลือกชั้นวรรณะ เปิดพิเศษในวันพุธสำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปและวันเสาร์สำหรับเด็กอายุไม่เกิน 5 ขวบ
- เมืองกุสินารา เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถานแห่งที่ 4 ซึ่งเป็นสถานที่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า
ข้อมูลจาก
- หนังสือ สู่แดนพุทธองค์ อินเดีย เนปาล(ฉบับนักเดินทาง) โดยพระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทโธ)
- หนังสือนิตยสาร Check Tour
- หนังสือนิตยสาร เที่ยวรอบโลก
- เว็บ wikipidia
|
|
|
|
วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ |
วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ |
วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ |
วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ |
|
|
|
|
วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ |
วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ |
วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ |
ห้องพักที่วัดไทย |
|
คลิปวีดีโอ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ |
รูปโดย ทริปดีดี ดอทคอม |
|