ประตูชัย
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเวียงจันทน์บนถนนล้านช้างไปสิ้น สุดที่บริเวณประตูชัย สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2512 เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงประชาชนชาวลาวผู้เสียสละชีวิตในสงครามก่อนหน้า การปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์ ประตูชัยแห่งนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รันเวย์แนวตั้ง เพราะการก่อสร้างประตูชัยแห่งนี้ ใช้ปูนที่อเมริกาซื้อเพื่อนำมาสร้างสนามบินใหม่ในนครเวียงจันทน์ในระหว่าง สงครามอินโดจีน แต่ไม่ทันได้สร้างเพราะอเมริกาแพ้สงครามในอินโดจีนเสียก่อน จึงนำปูนซีเมนต์มาสร้างประตูชัยแทน ลักษณะสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลของประตูชัยในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เจ้าอาณานิคมในสมัยนั้น แต่ลักษณะสถาปัตยกรรมก็ยังมีเอกลักษณ์ของลาวปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปศิลปะลาว ภาพเรื่องราวมหากาพย์รามายณะ แบบปูนปั้นใต้ซุ้มประตูโค้งของประตูชัย บันไดวันให้ขึ้นไปชมทิวทัศน์ของนครเวียงจันทน์ บนยอดของประตูชัยอีกด้วย ตลอดบันไดวนของประตูชัยจะแบ่งออกเป็นชั้นๆ ซึ่งแต่ละชั้นจะมีร้านจำหน่ายของที่ระลึก
เปิดให้นักท่องเที่ยวได้ขึ้นชมวิวทิวทัศน์ทุกวัน
สถานที่ตั้ง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเวียงจันทน์
ค่าเข้าชม ผ่านประตูคนละ 2,000 กีบ
เปิดเวลาเปิดเข้าชม ตั้งแต่เวลา 08.00 17.00 น.
วัดศรีเมือง / วัดสีเมือง ของนครเวียงจันทร์
วัดสีเมือง เป็นวัด ที่ประดิษฐาน "เสาหลักเมือง" ของนครเวียงจันทร์ ที่บริเวณประตูทางเข้าวัด จะมีเต้นส์ที่พระคุณเจ้า จัดตั้งไว้เพื่อจัดวางอุปกรณ์ สิ่งที่จะนำไปกราบไหว้พระที่อยู่ภายในพระอุโบสถของวัดสีเมือง เรียกว่า ต้นเทียน ลักษณะเป็นแผ่นขี้ผึ้งบาง ๆ ทำเป็นดอกเหมือนดอกไม้ แต่ใช่เทียนไขปั้มใส่แบบ แกะออกมาเป็นดอก ๆ จากนั้นนำใส่ด้ามไม้ นำไปประดับที่ต้นกล้วยขนาดเล็กใหญ่ต่างกันไป ที่โคนต้นใส่ลงในกระป๋อง เพื่อเป็นฐานสำหรับวางตั้งไว้
หลังจากที่คณะของเราเลือกต้นดอกไม้เทียนเรียบร้อยแล้ว เราเดินเข้าไปภายในพระอุโบสถ เพื่อนำดอกเทียนไปไหว้พระ ต้นดอกเทียนจะต้องวางบนถาดที่เจ้าหน้าที่จัดไว้ให้ ธูป 3 ดอก และเทียน 2 เล่ม จุดและนำปักที่ถาด จากนั้นก็นำถาดที่มีต้นดอกเทียน วางไว้ด้านหน้าพระพุทธรูป กราบพระ 3 ครั้ง ตั้งนะโม 3 จบ ไหว้พระและอธิฐานตามแต่ใจปรารถนา หลังจาดเสร็จจากการไหว้พระแล้ว ใช้เวลาที่พอมีเดินชมบรรยากาศภายในบริเวณวัด ชมปฏิมากรรมต่าง ๆ ที่ตั้งไว้ ถ่ายรูปไม้ดอกไม้ประดับที่ปลูกอยู่ข้างรั้ววัด นกขนาดใหญ่อาศัยที่สูงเพียงตัวเดียว กลายเป็นจุดเด่นที่ผู้คนถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก |