รูปภาพตัวอย่าง ปราสาทหินวัดพู จากทริปลาวใต้ โดย ทริปดีดี ดอทคอม
ปราสาทวัดพู ห่างจากตัวเมืองจำปาสักมาทางทิศใต้ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ปราสาทวัดพู หรือวัดพูจำปาสัก
ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในอดีต
ที่ตั้งของวัดพูเคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของแหล่งอารยธรรมโบราณถึง 3 สมัยด้วยกันคือ อาณาจักรเจนละในช่วงศตวรรษที่ 6-8 ค้นพบจารึก
กล่าวถึงการฆ่าคนเพื่อบูชาแด่
เทพเจ้า ต่อมาเป็นยุคของอาณาจักรขอมสมัยก่อนเมืองพระนครที่เลือกบริเวณนี้เป็นที่สร้างปราสาทหินในราว
ศตวรรษที่ 9 และสุดท้ายอาณาจักรล้านช้างได้เปลี่ยนเทวาลัย
ในศาสนาฮินดูให้เป็นวัดในพุทธศาสนานิกายเถรวาท สิ่งโดดเด่นสะดุดตาแก่ผู้พบ
เห็นคือ ภูเขาด้านหลังปราสาทที่ตั้งตระหง่านมองเห็นแต่ไกล รูปร่างคล้ายนมของผู้หญิงและ
คนเ
กล้ามวยผม ซึ่งเป็นที่มาของชื่อภูผาแห่งนี้ว่าเขานมสาว แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่าภูเกล้ามากกว่า อาณาเขตของปราสาทวัดพูเริ่มต้นจากริมฝั่งแม่น้ำโดยมีบันไดทางขึ้นลด
หลั่นกันขึ้นมา 3 ชั้น จนถึงองค์ประธานของปราสาทซึ่งอยู่ชั้นบนสุด นอกเขตวัดมีบารายขนาดใหญ่ ซึ่งในสมัยโบราณใช้เป็นที่แข่งเรือและที่สรงน้ำสำหรับพิธีกรรม
ต่างๆ
เมื่อเข้าไปในบริเวณวัด จะเห็นซากวังที่พระราชวงศ์สายจำปาสักให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรงานเทศกาลประจำปี ซึ่งจะ
จัดขึ้นในวัน 15 ค่ำ เดือน 3
สืบทอดจนมาถึงทุกวันนี้ ถัดมามีบันไดทางขึ้นที่ตัดในแนวตะวันออก-ตะวันตก ทอดผ่านสระน้ำทรงสี่เหลี่ยม 2 แห่ง
ตรงขึ้นไปสู่ชาลา(ทางเดิน) ชั้นกลางซึ่งมีปรางค์ 2
หลังขนาบข้าง สันนิษฐานจากภาพแกะสลักรูปเทพเจ้าว่า ปรางค์ด้านขวามือเป็นสถานที่
บวงสรวงบูชาสำหรับบุรุษ ส่วนปรางค์ทางด้านซ้ายมือเป็นสถานที่บวงสรวงสำหรับสตรี เหนือโคปุระหรือประตูทางเข้าปรางค์ทั้งสอง เป็นทับหลังแกะสลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องราวในศาสนาฮินดูเดินต่อมาผ่านสิ่งปลูกสร้างหลายหลังมีสภาพปรักหักพัง จนมองไม่ออกว่าสร้างขึ้นมา
เพื่อจุดประสงค์ใด
ผ่านบันไดที่มีรูปร่างคล้ายเกล็ดนาคมาถึงหินสลักรูปโยนีสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของศาสนาฮินดูที่อยู่ทางขวามือ
และ
ซ้ายมือของทางเดินหลัก ถัดมาที่บันไดสูงชันที่ทอดขึ้นสู่ชาลาชั้นที่ 3 ผ่านทิวแถวของต้นจำปาเรียงรายสองข้างทางมาถึงปรางค์ประธานตั้งอยู่ท่ามกลางซากปรักหักพังของ
เทวรูป ทับหลัง และต้นไม้น้อยใหญ่ ในอดีตมีการต่อรางนำน้ำที่ไหลออกจากหินย้อยในหลืบถ้ำบริเวณด้านหลังมาสู่ศิวลึงค์ที่ประดิษฐานอยู่ภายในประธาน เพื่อใช้ในการ
ประกอบ
พิธีกรรม ซึ่งบ่งบอกได้ว่าปราสาทวัดพูแห่งนี้ในอดีตเคยเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดูไศวนิกาย แต่ปัจจุบันศิวลึงค์ได้ถูกนำออกมาและเปลี่ยนเป็น
พระพุทธรูป
ในศาสนาพุทธแทน ชาวบ้านนิยมนำดอกไม้และธูปเทียนมาบูชา และเรียกปรางค์ประธานแห่งนี้ว่าหอไหว้ ส่วนทางด้านหลังซ้ายมือของ
ปรางค์ประธานมีแผ่นหินขนาดใหญ่
ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีภาแกะสลักรูปตรีมูรติขนาดเกือบเท่าคนจริง ซึ่งหมายถึง เทพเจ้าทั้ง 3 องค์ ผู้เป็นใหญ่สูงสุดในศาสนาฮินดูอันได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์
และพระพรหม เดินถัดมาประมาณ 10 เมตร จะพบก้อนหินสองก้อน แกะสลักเป็นรูปจระเข้และบันไดนาคตั้งอยู่ตรงข้ามกัน เชื่อว่าอาจเป็นฝีมือของชาวเจนละในสมัยนั้น ท
สลักไว้เพื่อใช้ในพิธีบูชายัญก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังพบก้อนหินรูปร่างกลมขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนยอดเขาแกะสลักเป็นรูปหัวช้างเชื่อว่าเป็นหลักฐานชิ้นสุดท้ายสมัยขอมเรืองอำนาจสำหรับ
งานบุญประเพณีของวัดพู
เป็นเทศกาลที่โด่งดัง และดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ โดยจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งจะจัด
ติดต่อ
กัน 3 วัน โดยประชาชนชาวลาวจากทั่วทุกแขวงจะเดินทางนำสิ่งของมาบวงสรวงบูชาตามจุดต่างๆ ในบริเวณองค์ประธาน สำหรับในวันสุดท้าย
พระสงฆ์จะออกมา
บิณฑบาต พอตกค่ำจะมีพิธีเวียนเทียนไปรอบๆ องค์ประธาน
|